จะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ฟังทางนี้!!!!!!

จะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ฟังทางนี้!!!!!!

22 มิ.ย. 2564   ผู้เข้าชม 881

“หลักสูตร พนักงานรักษาความปลอดภัย” ผู้ที่จะประกอบอาชีพ พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ.ต้องฝึกอบรม ทฤษฎี 16 ชั่วโมง ปฏิบัติ 24 ชั่วโมง รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะผ่านการอบรม แต่การอบรมต้องอบรมในสถานที่ที่ได้มาตรฐานสถานฝึกอบรมตามกฎหมาย

            โดยทฤษฎีที่ต้องอบรมแบ่งเป็น 9 หัวข้อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจรปภ. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การรักษาความปลอดภัย ขั้นพื้นฐาน การเขียนรายงาน การเตรียมพร้อมกรณีเหตุฉุกเฉิน การติดต่อสื่อสาร หลักการใช้กำลัง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจัดการจราจรฯลฯ

            ส่วนภาคปฏิบัติจะฝึกระเบียบแถว การทำความเคารพ การต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าและกระบอง และอาวุธศึกษา และ กฎหมายยังกำหนด บัตรประจำตัวพนักงานรปภ.ที่ได้รับอนุญาต ของบริษัทรักษาความปลอดภัย ที่ต้องมีรูปถ่าย ระบุชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน เลขใบอนุญาต วันออกและวันสิ้นสุดอายุของบัตร โดยมีกรรมการผู้จัดการบริษัทลงนามในบัตร

     

ข้อมูลประกอบเกี่ยวกับการฝึกอบรม


ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจความปลอดภัย ได้กำหนดหลักสูตร การรักษาความปลอดภัยเจ้าหน้าที่รปภ.ต้องฝึกอบรมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง ประกอบด้วยภาคทฤษฎี 16 ชั่วโมงและภาคปฏิบัติ 24 ชั่วโมง โดยมีหลักสูตรหลากหลายด้าน อาทิ กฎหมายเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจความปลอดภัย ความรู้ทักษะทัศนคติต่อวิชาชีพ ตลอดจนความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายหรือทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างอย่างเต็มความสามารถ โดยกฎหมายและหลักสูตรจะระบุถึงเรื่องจรรยาบรรณ ความมีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต และต้องให้ความร่วมมือกับทางราชการเพื่อช่วยในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมไทย


ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องรู้ เกี่ยวกับ องค์ประกอบพื้นฐานความปลอดภัย เช่น การห้ามเข้าพื้นที่ การเคลื่อนย้ายคนเพื่อไปในที่ปลอดภัย , การกำหนดเขตหวงห้ามหรือปิดกั้นสถานที่ หรือจะต้องรู้เรื่องของการเขียนรายงานจดบันทึกข้อมูลเพื่อรายงาน การตรวจตราบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ ให้เทคนิคในการสังเกต การตรวจสอบบุคคลและสัมภาระจดจำตำหนิรูปพรรณ

 

แม้แต่เรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่อาจทำให้เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือ ปัจจัยเสี่ยงเช่น เหตุเพลิงไหม้เหตุระเบิดมีวัตถุต้องสงสัย จะมีการให้ความรู้แล้วก็อบรมเชิงทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ รวมไปถึง การใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารต้องมีทักษะทางการพูดการเขียน ต้องเรียนรู้ การใช้วิทยุสื่อสารและโทรศัพท์
นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการอบรมเรื่องของการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น การจัดการพื้นที่ฉุกเฉิน การช่วยเหลือกรณีมีคนช็อก เป็นลมหมดสติ เกิดอาการสำลัก หรืออาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือมีกรณีผู้เสียเลือดอย่างรุนแรง และเรียนรู้การปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพหรือ CPR เบื้องต้นด้วย

นอกเหนือจากนั้นจะเป็นการฝึกภาคสนามเรื่องระเบียบแถวการทำความเคารพการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าและกระบอง รวมถึงวิธีการใช้อาวุธ อย่างถูกต้อง และ การจัดการจราจรการควบคุมคนหรือยานพาหนะกรณีมีเหตุฉุกเฉิน การใช้อุปกรณ์เพื่อควบคุม เป็นต้น

วัตถุประสงค์ต้องการให้พนักงานรักษาความปลอดภัย มีมาตรฐาน สากลโดยเฉพาะในส่วนของรปภ.ทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความห่วงใยและจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้ทราบว่าภายในวันที่ 3 มีนาคม 2562 รปภ.ทุกคนที่เคยได้รับการผ่อนผันตามบทเฉพาะกาล มาตรา 74 ให้เร่งการฝึกอบรม ถ้าท่านฝึกอบรมไม่ทันแม้ว่าจะเคยได้ใบอนุญาตไปแล้วท่านอาจจะถูกเพิกถอนได้ และสิ่งที่ตามมาคือท่านจะถูกดำเนินคดีได้ ตามบทบัญญัติอัตราโทษที่กำหนดไว้สำหรับการที่เป็นรปภ.โดยไม่ได้รับอนุญาต มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งทุกคนสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ของตำรวจและของทางเอกชน

สำหรับการจัดดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรรักษาความปลอดภัยที่ต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 มีนาคม 2562 นั้น เพื่อไม่ให้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนใบอนุญาตในการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เตรียมความพร้อมทางด้านเจ้าหน้าที่และสถานที่ โดยสามารถติดต่อฝึกอบรมสถานฝึกอบรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 123 แห่ง และในส่วนของเอกชนที่มีสถานฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองอีก 126 แห่ง รวม249 ขอย้ำว่าหากเกินกำหนดระยะเวลาหลังจากนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด


ที่มา : มติชน สุดสัปดาห์


บทความที่เกี่ยวข้อง